ประโยชน์ของทำประกัน


ประโยชน์ของทำประกัน

ประโยชน์ที่หลายคนคาดไม่ถึง

ด้านการลงทุน

ประกันชีวิตเปรียบเสมือนหลักทรัพย์ชนิดหนึ่งเช่นกัน เนื่องจากผู้ทำประกันจะได้รับดอกผลเช่นเดียวกับการฝากเงินในสถาบันการเงินทั่วไป ในส่วนที่แตกต่างกันคือ จะมีระเบียบวิธีการ เงื่อนไข และอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน การประกันชีวิตนั้แม้ได้ผลตอบแทนต่ำกว่าการลงทุนบางประเภท แต่ก็นับว่าเป็นรายได้ที่แน่นอน มีความเสี่ยงต่ำและเชื่อมั่นได้ว่าต้นทุนไม่สูญหายไปด้วย

ด้านการออม

ลักษณะการออมของการทำประกันภัยนั้น จะเป็นในลักษณะแบบกึ่งบังคับ โดยเฉพาะการประกันชีวิตแบบตลอดชีพและสะสมทรัพย์ ซึ่งผู้เอาประกันจะต้องมีหน้าที่ในการจ่ายเบี้ยประกันอย่างสม่ำเสมอ และหากผู้เอาประกันไม่เสียชีวิตเมื่อครบระยะเวลาตามที่กรมธรรม์กำหนดไว้ ก็จะได้เงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ย นับได้ว่าเป็นการออมเพื่อไว้ใช้ยามชราก็ได้ หรือออมไว้เพื่อเก็บเป็นทุนการศึกษาของบุตรหลาน นอกจานี้ ยังเป็นการสร้างค่านิยมให้คนรู้จักประหยัด และมีความรับผิดชอบต่อครอบครัวอีกด้วย

ด้านการให้ความคุ้มครอง

การทำประกันชีวิตจะช่วยบรรเทา ความเดือดร้อนเรื่องการเงิน รวมทั้ง เรื่องค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของครอบครัว อันเนื่องมาจากการเสียชีวิตของบุคคลใดบุคคลหนึ่งในครอบครัวนั้น

ด้านการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต

การประกันชีวิตสามารถช่วยสร้างความมั่นคงของรายได้ให้แก่ผู้เอาประกันได้ ในกรณีการทำประกันการเจ็บป่วย หรือการประกันอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด ผู้เอาประกันจะได้เงินทดแทนเพื่อใช้ในการเลี้ยงชีพตน ในกรณีทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงได้ ในกรณีการทำประกันชีวิตเพื่อเลี้ยงชีพยามชรา ผู้เอาประกันก็สามารถมีรายได้เพื่อเลี้ยงชีพไปจนตลอดชีวิตเช่นกัน

ด้านการได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี

เนื่องจากรัฐบาลได้ให้ การส่งเสริมธุรกิจประกันชีวิต ดังนั้น ผู้ที่ทำประกันชีวิตก็สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตของบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ ประกอบธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทย ไปใช้เป็นค่า ลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนหันมาสนใจการทำประกันชีวิตเพิ่มขึ้น เพื่อความมั่นคงในชีวิตของประชาชนทั่วไป

ด้านอื่นๆ

การทำประกันชีวิตเปรียบเสมือนการเตรียมเงิน ไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน เมื่อกรมธรรม์ครบกำหนดระยะเวลาตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป ก็จะมีมูลค่าเงินสด หากผู้เอาประกันมีความจำเป็นทางการเงินก็สามารถขอ กู้เงินจำนวนหนึ่งตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนดไปใช้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำได้


การประกันภัย คือ การบริหารความเสี่ยงภัยวิธีหนึ่ง ซึ่งจะโอนความเสี่ยงภัยของผู้เอาประกันภัยไปสู่บริษัทประกันภัย เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ได้รับความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดยที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องเสียเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันภัยตามที่ได้ตกลงกันไว้

การประกัน (Insurance) คือการบริหารจัดการความเสี่ยงรูปแบบหนึ่ง โดยมีองค์ประกอบสามส่วน คือ

  1. ผู้รับประกัน (Insurer)
  2. ผู้เอาประกัน (Insured) หรือผู้ถือกรมธรรม์ (Policy Holder)
  3. ผู้รับผลประโยชน์ (Beneficiary)

การประกันจักต้องผ่านกระบวนการพิจารณารับประกัน (Underwriting) เพื่อผู้รับประกันจักประเมินความเสี่ยงล่วงหน้าของ บุคคล, กลุ่มบุคคล หรือ ทรัพทย์สิน นั้น ๆ พร้อมกำหนด รายละเอียดความคุ้มครอง และค่าเบี้ยประกัน ผู้รับประกันอาจรับประกัน โดยแบ่งความเสี่ยงมาส่วนหนึ่ง หรือ ปฏิเสธ หากความเสี่ยงนั้นไม่อาจรับได้ หรือ ผู้รับประกันอาจรับประกันโดยเพิ่มอัตราเบี้ยพิเศษ เพื่อให้สามารถครอบคลุมความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

การทำประกัน เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ ถูกต้องตามกฎหมาย โดยคู่สัญญาต่างมีหน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบต่อกัน ผู้รับประกันจักต้องคุ้มครองผู้เอาประกันตามรายละเอียดในสัญญาเมื่อมีความ สูญเสีย เสียหายเกิดขึ้น โดยชดเชยตามรายละเอียดความคุ้มครอง ผู้เอาประกันก็มีหน้าที่ชำระเบี้ยประกันตามที่ระบุในสัญญาเพื่อให้ความคุ้ม ครองเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

การทำประกันจุดประสงค์แท้จริงเพื่อแบ่งเบาความเสี่ยง จากบุคคล, กลุ่มบุคคล หรือ ทรัพย์สินนั้น ๆ ออกเป็นส่วนโดยร่วมกันชดเชยเมื่อมีความสูญเสีย เสียหายเกิดขึ้น โดยยึดหลักสุจริตเป็นสำคัญ และการทำประกันมิใช่สัญญาเพื่อค้ากำไร

บทความอื่นๆ

อ่านก่อนตัดสินใจ จากใจตัวแทนประกันรายได้หลักล้าน


อนุสัญญา คืออะไร


free look


ขยายระยะเวลา


ใช้เงินสำเร็จ คืออะไร


ทุนประกัน คืออะไร


ยูนิตลิงค์ (Unit-Linked) คืออะไร?


สมาคมประกันชีวิตไทย


ทำไมต้องวางแผนประกันสุขภาพตลอดชีวิต?


ทำไมจึงไม่ควรเวนคืนกรมธรรม์เงินสด เพื่อไปซื้อกรมธรรม์ใหม่?


กรมธรรม์แบบใดบ้างที่สามารถต่ออายุ หรือเปลี่ยนแปลงความคุ้มครองได้


หากกรมธรรม์ขาดแล้ว จะต่ออายุได้หรือไม่?


เบี้ยประกันภัยของบุคคลในครอบครัว (พ่อ แม่ คู่สมรส ลูก) นำมาลดหย่อนภาษีของตนเองได้หรือไม่?


ทำไมเบี้ยประกันภัยที่ชำระจึงไม่เท่ากับเบี้ยประกันภัยที่หักลดหย่อนภาษีได้


ทำไมเบี้ยประกันภัยบางส่วนถึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกปี


การกู้อัตโนมัติคืออะไร มีข้อดีอย่างไร?


สามารถชำระเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าได้หรือไม่?


สามารถชำระเบี้ยประกันภัยผ่านตัวแทนได้หรือไม่?


กรมธรรม์ถึงกำหนดชำระวันไหน และมีเวลาในการชำระได้ถึงเมื่อใด?


ประกันสะสมทรัพย์ คืออะไร ?